214/10 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
โทร. 054-710-234   E-mail : saraban-nancity@lgo.mail.go.th
ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
10 ที่เที่ยวสุดฮิต
จำนวน10 ที่เที่ยวสุดฮิต ทั้งหมด 8 รายการ
กำแพงเมืองเก่าน่าน แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นแหล่งโบราณสถาน ที่สำคัญของ จังหวัดน่าน เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ ความมั่นคงของรัฐเล็กๆ ในอดีต ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำน่านนี้เลย สามารถปกครองตนเองได้ แม้ว่าจะต้องยอมอ่อนน้อมต่อหัวเมืองอื่นหลายต่อหลายครั้งก็ตาม แต่เมืองน่าน ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองเอาไว้ได้โดยเชื่อกันว่าในอดีตนั้น กำแพงน่าจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวกว่า 3,600 เมตร สูงราวๆ  3.80 เมตร และกว้าง 2.50 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทอดตัวไปตามลำน้ำน่าน มีประตูชัย ซึ่งเป็นประตูที่เจ้าผู้ครองนครและเจ้านายฝ่ายในนั้น ใช้ในการเสด็จทางชลมารคสู่พระนครรัตนโกสินทร์นั่นเอง ซึ่งตัวของกำแพงจะเป็นแนวกำแพงในด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ ตั้งอยู่บริเวณถนนมหาวงศ์ที่เชื่อมต่อกับถนนอนันตวรฤทธิเดชนั่นเองค่ะ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2536 นั้น กรมศิลปกรก็ได้บูรณะปฏิสังขรณ์แนวกำแพง รวมไปถึงส่วนที่ทรุดโทรม และได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 แล้ว      ส่วนทิศใต้ จะมีประตูเชียงใหม่และประตูท่าลี่ สำหรับให้ราษฎรที่อยู่ในเมืองและนอกเมืองเดินทางไปมาได้ ปัจจุบัน กำแพงเมืองเก่าน่าน นี้ ก็ที่ยังถือว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์อย่างมากเลยค่ะ แม้ว่าจะเหลือความยาวไว้แค่เพียง 25 เมตร สูง 5 เมตร เท่านั้น  Cr:ข้อมูล :cbtthailand
23 กรกฎาคม 2567
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์ตั้งอยู่ด้านหน้าคู่กับพระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสาราย รับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบัน ใช้แผ่นไม้เรียงต่อกัน เป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลัก ลายกนก เป็นรูปสามเหลี่ยม สลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บ พระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก Cr:ข้อมูลธรรมมะไทย 
23 กรกฎาคม 2567
วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ เป็น เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ประวัติของวัดมิ่งเมือง คือ เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง ต่อมาปี 2527 พระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองทำการรื้อถอนอุโบสถหลังเดิมทั้งหลัง เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก โดยออกแบบให้เป็นอุโบสถแบบล้านนาร่วมสมัย การก่อสร้างตัวอาคารเป็นฝืมือของช่างพื้นบ้านเมืองน่าน งานลวดลายปูนปั้นเป็นฝีมือช่างจากเชียงแสน โดยมีนายเสาร์แก้ว เลาดี เป็นช่างใหญ่ที่ทำการปั้นและออกแบบลวดลายปูนปั้นทั้งหมดภายในอุโบสถได้ทำการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยคุณสุรเดช กาละเสน (จิตรกรพรสวรรค์พื้นบ้านเมืองน่าน) โดยเขียนแบบอนุรักษณ์ภาพโบราณ เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคาเจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย วัดมิ่งเมือง ยังเป็นที่ประดิษฐานเสาพระหลักเมืองน่าน คนเมืองน่านในสมัยโบราณเรียกขานว่า "เสามิ่งเมือง" หรือ "เสามิ่ง" โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาประหลักเมืองน่านลง ณ จุดนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2331 หลังจากที่พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 ณ กรุงเทพฯ และร่วมพระราชทานพิธีฝังเสาพระหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อปีพุทธศักราช 2129 พระองค์จึงได้คตินั้นมาฝังเสาพระหลักเมืองน่านขึ้น ปีพุทธศักราช 2506 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านได้ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองน่านอย่างรุนแรง กระแสน้ำได้เซาะรากโคนเสาพระหลักเมืองซึ่งผุกร่อนมาก เพราะฝังดินมาเป็นเวลานานกว่า 170 ปี จนถอนโค่นลง เจ้าอาวาสจึงได้นำเสาไปผูกมัดไว้ใต้ถุนหอกลองหลังวัด เมื่อน้ำลดเป็นปกติแล้ว เจ้าอาวาสจึงได้พร้อมกับคณะศรัทธาวัดมิ่งเมืองแห่งนี้ ร่วมกันสร้างเสาพระหลักเมืองจำลองขึ้น ณ ที่เดิม โดยทำเป็นเสาก่อด้วยอิฐถือปูน ก่อฐาน 4 เหลี่ยมลดหลั่นเป็นชั้น ตัวเสาสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ฐานสูงประมาณ 1 เมตรเศษ ทาด้วยปูนขาว เสาพระหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเมืองน่าน ควรมีโอกาสได้สักการะเสาพระหลักเมื่องน่าน ในการสักการะเสาพระหลักเมืองน่านนั้น ให้ทำการสักการะให้ครบทั้งสี่ทิศ เพราะในแต่ละทิศนั้นจะมีความมงคลตามความหมายของทิศนั้น โดยเริ่มจาก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกหลังจากนั้นแล้วจึงเดินชมความงดงามอุโบสถล้านนาของวัดมิ่งเมือง ที่ทำให้คนน่านได้ภาคภูมิใจว่า ช่างสล่าน่าน เก่งไม่แพ้ใครในล้านนา
23 กรกฎาคม 2567
 วัดภูมินทร์ เป็นวัดหลวงตั้งอยู่ที่ตำบลในเวียง เขตอำเภอเมือง เดิมมีชื่อว่า วัดพรหมมินทร์ ตั้งตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2139  บริเวณด้านหน้าประตูอุโบสถทางด้านทิศเหนือ มีรูปปั้นนาคขนาบข้างบันไดทั้ง 2 ฝั่ง ลำตัวทอดยาวไปรับกับตัวพระอุโบสถและพระวิหาร คล้ายเอาหลังหนุนไว้ คนโบราณจะกล่าวว่า นาคสะดุ้ง แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตามความเชื่อที่ว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้เสด็จผ่านบันไดแก้วที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาค 2 ตัวหนุนหลังเอาไว้"โดยส่วนกลางของบันไดนาคจะมีช่องทรงโค้งทั้ง 2 ด้าน ผู้เฒ่าผู้แก่จะบอกกันว่า หากคู่รักได้ลอดวนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ จะสมหวังดังตั้งใจ และยังเชื่ออีกว่าหากคนต่างถิ่นมาลอดจะได้กลับไปเยือนเมืองน่านอีกครั้ง ฮูบแต้ม เลื่องลือชื่อ กระซิบรักเมืองน่าน เมื่อเดินเข้าไปยังด้านในของพระอุโบสถ จะปรากฏภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังลายเส้นสวยงามทั้ง 4 ด้าน เป็นศิลปกรรมแบบไทลื้อ คนพื้นเมืองเรียกกันว่า ฮูบแต้ม ภาพวาดได้แสดงถึงเรื่องราวของพุทธชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ถูกวาดขึ้นช่วงการซ่อมแซมพระอุโบสถครั้งใหญ่ ในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และเป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ หรือราว ๆ ปี พ.ศ. 2410-2417 ภาพที่สะดุดตาและมีชื่อเสียง คือ ปู่ม่านย่าม่าน และ นางสีไว เป็นผลงานของ "หนานบัวผัน" จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ที่มีฝีมือการวาดภาพอันเป็นเอกลักษณ์ มีการใช้สีสันทันสมัย เช่น สีแดง ฟ้า ดำ และน้ำตาลเข้ม โดยภาพปู่ม่านย่าม่านมีลักษณะเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งคล้ายกำลังกระซิบสนทนา ได้ฉายาว่าภาพ "กระซิบรักบันลือโลก" เมื่อพินิจมองไปในภาพก็มีการสันนิษฐานกันว่า ชายหญิงในภาพนั้นเป็นชายหนุ่มชาวเมียนมาและหญิงสาวชาวไทลื้อ ด้วยการแต่งกาย การเกล้ามวยผม รวมไปถึงชื่อภาพ ปู่ม่านย่าม่าน ที่คำว่า ม่าน หมายถึง เมียนมา คำว่า ปู่ หมายถึง ผู้ชายพ้นวัยเด็ก และคำว่า ย่า หมายถึง ผู้หญิงพ้นวัยเด็ก และทั้งคู่ก็น่าจะเป็นสามีภรรยากัน เพราะในสมัยก่อนนั้นหากเป็นหนุ่มสาวจะถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ ส่วนภาพนางสีไวก็งดงามไม่แพ้กัน ทั้งลายเส้นและสีสันก็อ่อนช้อย โดยนางสีไวเป็นตัวละครจากเรื่อง คัทธณะกุมารชาดก ภาพที่วาดขึ้นมีลักษณะเป็นภาพหญิงสาวเกล้ามวยผมเหนือศีรษะ ในมือกำลังปักดอกไม้งามลงบนมวยผมสีดำขลับ ใบหูใส่ม้วนทอง มีผ้าคล้องคอไพล่ชายไปด้านหลัง เปลือยอก นุ่งผ้าลายพื้นเมืองน่าน งดงามหาที่เปรียบมิได้ พระประธานจตุรพักตร์ ศิลปะสุโขทัยน่าศรัทธาใจกลางพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานจตุรพักตร์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวน่านต่างให้ความเคารพศรัทธา เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสีทองงามอร่าม 4 องค์ ปางมารวิชัย ซึ่งพระกรรณ (หู) และพระนาสิก (จมูก) ของพระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะลาว ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกไปสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ และหันเบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) เข้าหากันตรงกลางของพระอุโบสถ มีความเชื่อกันว่าหากจะขอพรควรเดินวนชมทั้ง 4 องค์ก่อน 1 รอบ หากรู้สึกว่าพระพุทธรูปองค์ไหนยิ้มหรือพระพักตร์เป็นมิตรไมตรีกับเรามากที่สุด ให้ขอพรกับองค์นั้น แล้วจะสมดังใจปรารถนา วัดสวยมรดกชาติ คู่ธนบัตรไทย          บนธนบัตรไทยนอกจากจะมีภาพของพระมหากษัตริย์แต่ละสมัยแล้ว สิ่งที่ปรากฏอยู่ด้วยก็คือ ภาพของสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองไทย ซึ่งครั้งหนึ่งภาพของพระอุโบสถวัดภูมินทร์ ก็ได้ไปอยู่บนธนบัตรไทยราคา 1 บาท รุ่นที่ 1-3 ทางด้านซ้าย ส่วนทางด้านขวานั้นเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเครื่องแบบจักรี วัดภูมินทร์ มีคุณค่าต่อศิลปวัฒนธรรมของไทยล้านนามากทีเดียว การจะหาชมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมเก่าแก่ที่ยังสมบูรณ์และสวยงามแบบนี้นั้นหาได้ยากยิ่ง เมื่อมีโอกาสไปเยือนเมืองน่านเมื่อใด ตามรอยประวัติศาสตร์ไปเที่ยววัดภูมินทร์สักครั้ง แล้วจะพบว่าคุ้มค่าเหลือเกินที่ได้ไปชมด้วยสายตาตัวเอง    
23 กรกฎาคม 2567
ตึกรังษีเกษมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458(ค.ศ.1915) โดยคณะมิชชันนารี นำโดย ดร. นพ.ซามูเอล ซี พีเพิลส์, ดร.ฮิวส์ เทเลอร์, ศาสนาจารย์ แมเรียน บี ปาล์เมอร์ และ นางสาว ลูซี่ สตาร์ลิง สร้างแล้วเสร็จในปี 2459 ตึกหลังนี้ดัดแปลงแบบมาจากอาคารเรียนตึกลินกัล์น(น่านลินกัล์นอะแคเดมี)ซึ่งเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกของจังหวัดน่าน ส่วนตึกรังษีเกษมเป็นโรงเรียนหญิงแห่งแรกของจังหวัดน่าน ทั้งสองถือเป็นตึกแบบตะวันตกยุคแรกๆของน่านเดิมโรงเรียนหญิงแห่งนี้มีชื่อว่า “เมริเอสมิทบราวส์” ต่อมาในปี 2451 จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช(พระโอรสองค์ที่ 4 ในรัชกาลที่ 4 พระอนุชาของรัชกาลที่ 5) ได้พระราชทานนามของโรงเรียนให้ใหม่ว่า “โรงเรียนรังษีเกษม” เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมกิจการของศูนย์มิชชั่นน่าน โรงเรียนรังษีเกษมแรกเริ่มมีเพียงอาคารใหญ่หลังกลางเท่านั้น ต่อมาได้มีการสร้างอาคารฝั่งซ้ายขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องพักมิชชันนารีและหอพักนักเรียน(2451-2452) และสร้างส่วนฝั่งขวาขึ้นใช้เป็นห้องเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้พอเพียงต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นตึกรังษีเกษมเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลที่มีการปรับแบบบางส่วนให้เข้ากับสภาพอากาศเมืองร้อนของไทย เป็นอาคารรูปตัวยู 2 ชั้น พื้นเพดานสร้างด้วยไม้ หลังคาเดิมเป็นกระเบื้องดินขอ แต่ได้เคยถูกพายุใหญ่พัดกระเบื้องดินขอพังเสียหาย ต่อมาในปี 2526 ได้มีการปรับเปลี่ยนหลังคาให้เป็นสังกะสีมาจนถึงปัจจุบัน ตึกรังษีเกษมได้ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวเคียงคู่เมืองน่านมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี ผ่านการบูรณะซ่อมแซม และปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งทางโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาได้มีการนำตึกหลังนี้มาปรับปรุงเป็นหอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา ในปี 2554หอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาหรือตึกรังษีเกษม เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน ผ่านพยานวัตถุที่จัดแสดงอันหลากหลาย อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้โบราณเก่าแก่ของคนน่าน วัตถุเครื่องใช้ของมิชชันนารี วัตถุเครื่องใช้ของโรงเรียนรังษีเกษม โรงเรียนน่านลินกัล์นอะแคเดมี และโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา อีกทั้งยังมีผลงานภาพถ่ายในอดีตของเมืองน่านมากว่า 1,000 ภาพ ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงงานในจังหวัดน่าน พระราชกรณียกิจของเจ้าผู้ครองนครน่าน พันธกิจของมิชชันนารีที่มีต่อคนเมืองน่าน ภาพของอาคาร สถานที่ เหตุการณ์สำคัญ ตลอดจนภาพวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในอดีต Cr:ไปเที่ยวด้วยกัน 
23 กรกฎาคม 2567
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา รายล้อมด้วยถนนที่สำคัญได้แก่ ถนนผากองด้านทิศตะวันออก ถนนสุริยพงษ์ด้านทิศใต้ และถนนมหาพรหมด้านทิศเหนือ อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นหอคำที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าน่านทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อพุทธศักราช 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบศิลปะตะวันตกและศิลปะไทย โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขออกด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงไม้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินทั้งหมดให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ปีพุทธศักราช 2475 ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารหอคำ เพื่อให้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2517 และประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2528 อย่างเป็นทางการ ภายหลังการจัดแสดงเสร็จสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2530 ภายในแบ่งส่วนการจัดแสดงเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นบน จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ห้องโถงใหญ่ เคยเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการของเจ้าผู้ครองนคร จัดแสดงข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์ของจังหวัดน่าน การสร้างบ้านแปงเมือง หลักฐานศิลาจารึก ลำดับเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนคร เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ภาพถ่ายโบราณ เงินตราและอาวุธ  2.ห้องปีกอาคารและเฉลียง จัดแสดงเรื่องราวด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดน่าน แหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุจากการขุดค้นในพื้นที่เก็บกักน้ำบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาในจังหวัดน่าน ศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนาที่ก่อให้เกิดแนวคิดงานศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่าน 3.ห้องจัดแสดงงาช้างดำ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่านมาแต่โบราณ ชั้นล่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ห้องโถง จัดแสดงเรื่องราวด้านชาติพันธุ์วิทยา เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของภาคเหนือ มีการจำลองลักษณะบ้านเรือน ร้านน้ำ ห้องนอน ครัวไฟ เครื่องใช้ชีวิตประจำวัน การทอผ้าและตัวอย่างผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องประเพณีความเชื่อ การแข่งเรือยาว และงานสงกรานต์ เป็นต้น 2.เฉลียงด้านหลังและปีกอาคาร จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าชนต่างๆ ในจังหวัดน่าน อาทิ ไทลื้อ แม้ว เย้า ชนเผ่าตองเหลือง สุดท้ายเป็นห้องที่ระลึกและห้องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติชาวจังหวัดน่าน
23 กรกฎาคม 2567
“วัดหัวข่วง” นอกจากเป็นวัดที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองน่านแล้วยังเป็นวัดที่มีความแปลกไม่เหมือนวัดอื่นใดในไทยอีกด้วย แล้วสิ่งที่แปลกของวัดนี้ก็คือพระประธานเบี่ยงซ้ายนั่นเอง ถ้าหากเราเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วลองมองไปตรง ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่าพระประธานไม่ตรงกับประตูโบสถ์ ส่วนสาเหตุทำไมพระประธานต้องเบี่ยงซ้าย มันมีเรื่องเล่าอยู่ว่า “เมื่อสมัยก่อนชาวบ้านคุ้มวัดหัวข่วงกับชาวบ้านคุ้มวัดภูมินทร์ทะเลาะกัน ไม่สามารถปรองดองกันได้ จนในที่สุดผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 คุ้ม ได้เห็นว่าพระประธานของวัดหัวข่วงและวัดภูมินทร์นั้นหันหน้าเผชิญกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุข วัดหัวข่วงจึงยอมขยับพระประธานให้เบี่ยงมาทางด้านซ้าย หลังจากนั้นชาวบ้านทั้ง 2 คุ้มก็เป็นมิตรกันและสงบสุขเรื่อยมา” (คำว่าคุ้ม แปลว่าหมู่บ้านในสมัยก่อน) เรื่องราวนี้ถูกเล่าต่อกันมามากกว่า 500 กว่าปีแล้ว จนถึงปัจจุบันพระประธานไม่ได้ถูกขยับไปไหนอีกเลย ชาวบ้านแถบนี้จึงถือว่าเป็นพระประธานแห่งสันติภาพและมีความเชื่อว่า “ หากใครที่มาไหว้ก็จะพบกับความสันติสุข ใครที่ทะเลาะกัน คู่รักที่บาดหมางกัน มาไหว้พระที่นี่ก็อาจจะคืนดีกันได้ หอธรรมวัดหัวข่วงหรือหอไตร เป็นอาคารที่มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขใต้ถุนก่อทึบทรงสี่เหลี่ยมยอดเป็นรูปเต้าสลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก ใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์โบราณและพระไตรปิฏก เจดีย์วัดหัวข่วง ลักษณะของเจดีย์เป็นทรงเรือนธาตุแบบศิลปะล้านนา หรือคล้ายกับเจดีย์วัดโลกโมลีในจังหวัดเชียงใหม่ แต่มีการดัดแปลงของช่างฝีมือของชาวน่าน จากลักษณะสถาปัตยกรรมพออนุมานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในประมาณปี พ.ศ. 2,200 วิหารวัดหัวข่วง เป็นอาคารทรงจั่วมีหน้าบันประดับลวดลายไม้จำหลักรูปพรรณพฤกษา ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นคล้ายกับใบผักกาด มีการเรียนแบบแบบศิลปะตะวันตก แสดงให้เห็นถึงว่าอดีตนครน่านก็มีการติดกับกลุ่มชาวตะวันตก(ฝรั่งเศษสมัยล่าอณานิคม) ทำให้วิหารที่นี่ค่อนข้างแตกต่างกับที่อื่น ๆ นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม พระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบล้านนา และยังเป็นพระประธานเบี่ยงซ้ายแห่งเดียวในไทย Cr:ข้อมูล: thesunsigh
23 กรกฎาคม 2567
วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้วตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478 อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว[1] ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478 อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน[3] เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี
23 กรกฎาคม 2567