วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้วตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478
อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี
วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว[1] ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478
อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน[3] เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี