214/10 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
โทร. 054-710-234   E-mail : saraban-nancity@lgo.mail.go.th
ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์
เทศบาลเมืองน่าน
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียงทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลผาสิงห์ ภายในเขตเทศบาลมีที่ตั้งของศูนย์ราชการ สถานศึกษา สถาบันการเงินต่างๆ ทำให้มีฐานะเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัด

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองน่านมีพื้นที่ 7.6 ตารางกิโลเมตร[5] หรือ 4,750 ไร่ ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียงทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลผาสิงห์ ซึ่งภายในเขตเทศบาลมีการจัดตั้งชุมชนย่อยซึ่งแบ่งตามความศรัทธาในวัดที่ชาวบ้านได้ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน จำนวน 31 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนบ้านช้างค้ำ
- ชุมชนบ้านมิ่งเมือง
- ชุมชนบ้านศรีพันต้น
- ชุมชนบ้านอภัย
- ชุมชนบ้านพวงพยอม
- ชุมชนบ้านมณเฑียร
- ชุมชนบ้านไผ่เหลือง
- ชุมชนบ้านหัวข่วง
- ชุมชนบ้านมงคล
- ชุมชนบ้านภูมินทร์–ท่าลี่
- ชุมชนบ้านพญาภู
- ชุมชนบ้านดอนศรีเสริม
- ชุมชนบ้านสวนหอม
- ชุมชนบ้านหัวเวียงใต้
- ชุมชนบ้านสวนตาล
- ชุมชนบ้านดอนแก้ว
- ชุมชนวัดอรัญญาวาส
- ชุมชนบ้านเมืองเล็น
- ชุมชนบ้านท่าช้าง
- ชุมชนบ้านพระเกิด
- ชุมชนบ้านพระเนตร
- ชุมชนบ้านช้างเผือก
- ชุมชนบ้านสถารส
- ชุมชนบ้านมหาโพธิ์
- ชุมชนบ้านเชียงแข็ง
- ชุมชนบ้านน้ำล้อม
- ชุมชนบ้านประตูปล่อง
- ชุมชนค่ายสุริยพงษ์
- ชุมชนบ้านสวนหอม ม.3 ตำบลผาสิงห์
- ชุมชนบ้านดอนสวรรค์ ม.8 ตำบลผาสิงห์
- ชุมชนบ้านฟ้าใหม่ ม.9 ตำบลผาสิงห์
ประวัติ
เทศบาลเมืองน่านเดิมเป็นบริเวณตำบลในเวียง ได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองน่าน ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. 2497 ตราไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งแต่งตั้งหลวงวรวิทย์ วรรณการเป็นนายกเทศมนตรี โดยมีหลวงธนานุสรณ์ และนายกลิ่น ดวงพิกุล เป็นเทศมนตรีชุดแรก มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ ศาลาบาตร หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน) ต่อมาได้โดยขอที่ดินราชพัสดุบริเวณข้างที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน) สร้างเป็นสำนักงานเทศบาล จนกระทั่ง พ.ศ. 2510 จังหวัดน่านได้ดำเนินการก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นและต้องการที่ดินคืน เทศบาลเมืองน่านโดยคณะเทศมนตรีชุด ร.ต.ต.ชาญ เวชเจริญ นายกเทศมนตรี จึงได้พิจารณาใช้สถานีอนามัยชั้นหนึ่งของเทศบาลเป็นที่ทำการเทศบาลแทน ต่อมาได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ในสมัยนายกเทศมนตรี พ.ต.ท.อุ่น วุฒิการณ์ เมื่อ พ.ศ. 2515

ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอความร่วมมือมายังเทศบาลเมืองน่านเพื่อ หาสถานที่ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองน่านมีนางสิรินทร รามสูต เป็นนายกเทศมนตรี ได้เห็นชอบให้ใช้พื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองน่านเป็นที่ ก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน และได้เริ่มก่อสร้างสำนักงานหลังปัจจุบันบนบริเวณที่ดินของเทศบาล เนื้อที่ 14 ไร่ ถนนมหายศ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2548 โดยพื้นที่สำนักงานเทศบาลเมืองน่านหลังเดิมได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวน สาธารณะและจุดพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2552 ราษฎรจำนวน 3 หมู่บ้าน ของตำบลผาสิงห์ ได้แก่ บ้านสวนหอม บ้านดอนสวรรค์ และบ้านฟ้าใหม่ ได้แสดงเจตจำนงค์ขอรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลเมืองน่าน หลังจากทำการสำรวจเจตนารมณ์แล้วจึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554[1] ให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยนับรวมพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสามเข้ากับเทศบาลเมืองน่าน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้ง
วิสัยทัศน์

เทศบาลเมืองน่าน เมืองแห่งคนอายุยืน
คืนถิ่น เอกลักษณ์เมืองเก่า
เรามุ่งเป็น ชุมชนแห่งปัญญา
ปรารถนา สู่สังคมคุณภาพ

พันธกิจ

1.สร้างระบบการพัฒนากำลังคนการจัดการความรู้ให้เป็นมาตรฐาน
2.ส่งเสริมการทานแบบบูรณาการ ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างทีมงานและเครือข่าย โดยเน้นการมีสัมพันธภาพที่ดี
3.ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้บุคลากร เทศบาลเมืองน่านทุกส่วนราชการ/หน่วยงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและทั่วถึง
4.เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรต่างๆ
5.ดำเนินการและพัฒนาการฝึกอบรม โดยการให้ความรู้ความเข้าใจทักษะและทัศนคติในกระบวนการทำงาน ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมั่นตนเอง และเกิดแก่บุคลากรในสังกัดทุกหน่วยงาน