Open Large Modal
×
เข้าสู่ระบบเพื่อติดตามการแจ้งเหตุ
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
forgotpassword?
login
เข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาและดูรายงานสรุป
เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
(สำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น)
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
login
เข้าสู่ระบบ
สำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลเว็บไซต์
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
ข้อมูลเทศบาล
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ตราสัญลักษณ์
นโยบาย
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่สำนักปลัด
อำนาจหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
อำนาจหน้าที่กองคลัง
อำนาจหน้าที่กองช่างสุขาภิบาล
อำนาจหน้าที่สถานธนานุบาล
ยุทธศาสตร์/แผนงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนพัฒนา
แผนงาน/โครงการสำคัญ
งบประมาณ
แนะนำการชำระภาษี
รายงานและติดตามประเมินผล
การเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม
แหล่งท่องเที่ยว
Nan Safety Zone
SAFETY ZONE NAN
ผลิตภัณฑ์ตําบล
บุคลากร
โครงสร้างหน่วยงาน
รู้จักนายก
คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองน่าน
สภาเทศบาลเมืองน่าน
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองช่างสุขาภิบาล
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการเจ้าหน้าที่
กองสวัสดิการสังคม
สถานธนานุบาล
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร
โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์
โรงเรียนดรุณวิทยา
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจาก Facebook
ข่าวประกาศ
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว e-GP
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวสารในเครือข่าย อปท.
ขั้นตอนการให้บริการ
ปฏิทินกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรมหน่วยงาน
ผลงานเด่น
รางวัลแห่งความสำเร็จ
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรมจาก Facebook
วิดีโอ
เที่ยวเขตเทศบาล
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่จับจ่ายสินค้า
รายชื่อร้านอาหาร
กิจกรรมท่องเที่ยว วันเดียวเที่ยวน่าน
new data
เอกสาร/รายงาน
รายงาน
รายงานกิจการสภา
รายงานการประชุม
รายงานทางการเงิน
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ช่องทางการให้บริการ One Stop Service
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานแสดงผลการดำเนินงานรายไตรมาส
รายงานแสดงผลการดำเนินงานและงบสถานะการเงิน
รายงานข้อมูลเงินสะสม
รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานการเงิน ของเทศบาลเมืองน่าน
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ประกาศราคากลาง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก(รายไตรมาส)
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน(สขร.1)
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
ประกาศขายทอดตลาด
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ITA
คู่มือประชาชน
แบบสอบถามความพึงพอใจ
คลังความรู้
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
ประชาสัมพันธ์งานบุคคล
นโยบายการบริหารงานบุคคล
คู่มือการปฏิบัติงาน
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
กฎหมายและระเบียบต่างๆ
พ.ร.บ./พ.ร.ก.
กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
เทศบัญญัติเทศบาลเมืองน่าน
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
การให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
มาตรฐานการให้บริการ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
เว็บไซด์การฌาปนกิจสงเคราะห์ข้าราชการและบุคลากรท้องถิ่น
เว็บไซด์สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล
แบบฟอร์มเอกสารดาวน์โหลด/เอกสารการจดทะเบียนพานิชย์
รายงานการรับเรื่องร้องทุกข์ ประจำปี
แบบฟอร์มต่างๆ
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเรา
แผนที่ตั้ง
สายด่วนผู้บริหาร
กระดาน ถาม-ตอบ(Q&A)
กระดานสนทนา
กระดานสนทนาในเทศบาล
กระดานสนทนาในเครือข่าย อปท.
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
แจ้งเบาะแสการทุจริตพนักงาน
E-service
หนังสือราชการของเทศบาล
แบบสำรวจความคิดเห็น
214/10 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
โทร.
054-710-234
E-mail :
saraban-nancity@lgo.mail.go.th
ปรับขนาดตัวอักษร
-ก
ก
+ก
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
ภาษาไทย
ภาษาเขมร
English
简体中文
日本語
ภาษาพม่า
ภาษาฟิลิปปินส์
Malay
ภาษาลาว
Tiếng Việt
Indonesia
Burmese
Chinese
English
Filipino
Indonesia
Japanese
Khmer
Korean
Laotian
Melayu
Thai
Vietnamese
Arabic
หน้าแรก
ข้อมูลเทศบาล
ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ตราสัญลักษณ์
นโยบาย
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่สำนักปลัด
อำนาจหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
อำนาจหน้าที่กองคลัง
อำนาจหน้าที่กองช่างสุขาภิบาล
อำนาจหน้าที่สถานธนานุบาล
ยุทธศาสตร์/แผนงาน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการดำเนินงานประจำปี
แผนพัฒนา
แผนงาน/โครงการสำคัญ
งบประมาณ
แนะนำการชำระภาษี
รายงานและติดตามประเมินผล
การเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม
แหล่งท่องเที่ยว
Nan Safety Zone
SAFETY ZONE NAN
ผลิตภัณฑ์ตําบล
บุคลากร
โครงสร้างหน่วยงาน
รู้จักนายก
คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองน่าน
สภาเทศบาลเมืองน่าน
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองช่างสุขาภิบาล
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการเจ้าหน้าที่
กองสวัสดิการสังคม
สถานธนานุบาล
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร
โรงเรียนจุมปีวนิดาภรณ์
โรงเรียนดรุณวิทยา
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจาก Facebook
ข่าวประกาศ
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว e-GP
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวสารในเครือข่าย อปท.
ขั้นตอนการให้บริการ
ปฏิทินกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรมผู้บริหาร
ปฏิทินกิจกรรมหน่วยงาน
ผลงานเด่น
รางวัลแห่งความสำเร็จ
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรมจาก Facebook
วิดีโอ
เที่ยวเขตเทศบาล
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่จับจ่ายสินค้า
รายชื่อร้านอาหาร
กิจกรรมท่องเที่ยว วันเดียวเที่ยวน่าน
new data
เอกสาร/รายงาน
รายงาน
รายงานกิจการสภา
รายงานการประชุม
รายงานทางการเงิน
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น
ช่องทางการให้บริการ One Stop Service
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานแสดงผลการดำเนินงานรายไตรมาส
รายงานแสดงผลการดำเนินงานและงบสถานะการเงิน
รายงานข้อมูลเงินสะสม
รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานการเงิน ของเทศบาลเมืองน่าน
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ประกาศราคากลาง
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก(รายไตรมาส)
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน(สขร.1)
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
ประกาศขายทอดตลาด
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ITA
คู่มือประชาชน
แบบสอบถามความพึงพอใจ
คลังความรู้
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
ประชาสัมพันธ์งานบุคคล
นโยบายการบริหารงานบุคคล
คู่มือการปฏิบัติงาน
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
กฎหมายและระเบียบต่างๆ
พ.ร.บ./พ.ร.ก.
กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
เทศบัญญัติเทศบาลเมืองน่าน
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
มาตรฐานการให้บริการ
รายงานการรับเรื่องร้องทุกข์ ประจำปี
แบบฟอร์มต่างๆ
ติดต่อเทศบาล
ติดต่อเรา
แผนที่ตั้ง
สายด่วนผู้บริหาร
กระดาน ถาม-ตอบ(Q&A)
กระดานสนทนา
กระดานสนทนาในเทศบาล
กระดานสนทนาในเครือข่าย อปท.
แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
แจ้งเบาะแสการทุจริตพนักงาน
E-service
หนังสือราชการของเทศบาล
แบบสำรวจความคิดเห็น
หน้าหลัก
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
เรียงลำดับข้อมูล
ดูเยอะที่สุด
ดูน้อยที่สุด
เลือกช่วงเวลา
ตั้งแต่เดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
2557
ถึงเดือน
เลือกเดือน
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี
เลือกปี
2567
2566
2565
2564
2563
2562
2561
2560
2559
2558
2557
ค้นหา
จำนวนสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งหมด 10 รายการ
วัดพระธาตุเขาน้อย
ตั้งอยู่ในตำบลไชยสถาน ทางด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อ พ.ศ. 2030 เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ระหว่าง พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารก็สร้างในสมัยนี้เช่นกัน นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่านจากบริเวณลานชมทิวทัศน์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 วัดพระธาตุเขาน้อย จุดชมวิวเมืองน่านที่ดีที่สุด เหมาะกับการเก็บแสงเช้าเป็นอย่างมาก ถ้าคืนไหนนอนในเมืองน่านเช้าวันต่อมาแนะนำให้มาจัดที่นี่โลด แสงเช้าสวยมาก และควรมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น 1 ชม. ส่วนแสงเย็นที่นี่ผมว่าไม่ค่อยเวิร์ค แนะนำให้ไปเก็บที่อื่นดีกว่าบนวัดพระธาตุเขาน้อย มีโอกาสเห็นทะเลหมอกปกคลุมเมืองน่านพร้อมกับแสงสีทองในตอนเช้าได้ในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม Crข้อมูล:thesunsight
23 กรกฎาคม 2567
912
แชร์
กำแพงเมืองเก่าน่าน
กำแพงเมืองเก่าน่าน แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นแหล่งโบราณสถาน ที่สำคัญของ จังหวัดน่าน เลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ ความมั่นคงของรัฐเล็กๆ ในอดีต ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำน่านนี้เลย สามารถปกครองตนเองได้ แม้ว่าจะต้องยอมอ่อนน้อมต่อหัวเมืองอื่นหลายต่อหลายครั้งก็ตาม แต่เมืองน่าน ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองเอาไว้ได้โดยเชื่อกันว่าในอดีตนั้น กำแพงน่าจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวกว่า 3,600 เมตร สูงราวๆ 3.80 เมตร และกว้าง 2.50 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทอดตัวไปตามลำน้ำน่าน มีประตูชัย ซึ่งเป็นประตูที่เจ้าผู้ครองนครและเจ้านายฝ่ายในนั้น ใช้ในการเสด็จทางชลมารคสู่พระนครรัตนโกสินทร์นั่นเอง ซึ่งตัวของกำแพงจะเป็นแนวกำแพงในด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือ ตั้งอยู่บริเวณถนนมหาวงศ์ที่เชื่อมต่อกับถนนอนันตวรฤทธิเดชนั่นเองค่ะ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2536 นั้น กรมศิลปกรก็ได้บูรณะปฏิสังขรณ์แนวกำแพง รวมไปถึงส่วนที่ทรุดโทรม และได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 แล้ว ส่วนทิศใต้ จะมีประตูเชียงใหม่และประตูท่าลี่ สำหรับให้ราษฎรที่อยู่ในเมืองและนอกเมืองเดินทางไปมาได้ ปัจจุบัน กำแพงเมืองเก่าน่าน นี้ ก็ที่ยังถือว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์อย่างมากเลยค่ะ แม้ว่าจะเหลือความยาวไว้แค่เพียง 25 เมตร สูง 5 เมตร เท่านั้น Cr:ข้อมูล :cbtthailand
23 กรกฎาคม 2567
708
แชร์
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์ตั้งอยู่ด้านหน้าคู่กับพระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูงมีสิงห์ยืนอยู่ด้านหน้า ตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสาราย รับหลังคาเชิงชายแทนผนัง และก่อผนังปิด ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคาน มีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูนปั้น เป็นรูปยอดปราสาท ทำเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทาง ระหว่างเสารายและผนัง เป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบัน ใช้แผ่นไม้เรียงต่อกัน เป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้น เป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จำหลัก ลายกนก เป็นรูปสามเหลี่ยม สลับลายพุ่มข้าวบิณฑ์คว่ำ และรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมาก ใช้เป็นที่เก็บ พระไตรปิฏก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลาน จารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก Cr:ข้อมูลธรรมมะไทย
23 กรกฎาคม 2567
694
แชร์
วัดมิ่งเมือง
วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ เป็น เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ประวัติของวัดมิ่งเมือง คือ เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัดใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง ต่อมาปี 2527 พระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองทำการรื้อถอนอุโบสถหลังเดิมทั้งหลัง เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก โดยออกแบบให้เป็นอุโบสถแบบล้านนาร่วมสมัย การก่อสร้างตัวอาคารเป็นฝืมือของช่างพื้นบ้านเมืองน่าน งานลวดลายปูนปั้นเป็นฝีมือช่างจากเชียงแสน โดยมีนายเสาร์แก้ว เลาดี เป็นช่างใหญ่ที่ทำการปั้นและออกแบบลวดลายปูนปั้นทั้งหมดภายในอุโบสถได้ทำการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยคุณสุรเดช กาละเสน (จิตรกรพรสวรรค์พื้นบ้านเมืองน่าน) โดยเขียนแบบอนุรักษณ์ภาพโบราณ เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคาเจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย วัดมิ่งเมือง ยังเป็นที่ประดิษฐานเสาพระหลักเมืองน่าน คนเมืองน่านในสมัยโบราณเรียกขานว่า "เสามิ่งเมือง" หรือ "เสามิ่ง" โดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาประหลักเมืองน่านลง ณ จุดนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2331 หลังจากที่พระองค์ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 ณ กรุงเทพฯ และร่วมพระราชทานพิธีฝังเสาพระหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อปีพุทธศักราช 2129 พระองค์จึงได้คตินั้นมาฝังเสาพระหลักเมืองน่านขึ้น ปีพุทธศักราช 2506 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านได้ทะลักเข้าท่วมตัวเมืองน่านอย่างรุนแรง กระแสน้ำได้เซาะรากโคนเสาพระหลักเมืองซึ่งผุกร่อนมาก เพราะฝังดินมาเป็นเวลานานกว่า 170 ปี จนถอนโค่นลง เจ้าอาวาสจึงได้นำเสาไปผูกมัดไว้ใต้ถุนหอกลองหลังวัด เมื่อน้ำลดเป็นปกติแล้ว เจ้าอาวาสจึงได้พร้อมกับคณะศรัทธาวัดมิ่งเมืองแห่งนี้ ร่วมกันสร้างเสาพระหลักเมืองจำลองขึ้น ณ ที่เดิม โดยทำเป็นเสาก่อด้วยอิฐถือปูน ก่อฐาน 4 เหลี่ยมลดหลั่นเป็นชั้น ตัวเสาสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ฐานสูงประมาณ 1 เมตรเศษ ทาด้วยปูนขาว เสาพระหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนเมืองน่าน ควรมีโอกาสได้สักการะเสาพระหลักเมื่องน่าน ในการสักการะเสาพระหลักเมืองน่านนั้น ให้ทำการสักการะให้ครบทั้งสี่ทิศ เพราะในแต่ละทิศนั้นจะมีความมงคลตามความหมายของทิศนั้น โดยเริ่มจาก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกหลังจากนั้นแล้วจึงเดินชมความงดงามอุโบสถล้านนาของวัดมิ่งเมือง ที่ทำให้คนน่านได้ภาคภูมิใจว่า ช่างสล่าน่าน เก่งไม่แพ้ใครในล้านนา
23 กรกฎาคม 2567
645
แชร์
วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์ เป็นวัดหลวงตั้งอยู่ที่ตำบลในเวียง เขตอำเภอเมือง เดิมมีชื่อว่า วัดพรหมมินทร์ ตั้งตามชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2139 บริเวณด้านหน้าประตูอุโบสถทางด้านทิศเหนือ มีรูปปั้นนาคขนาบข้างบันไดทั้ง 2 ฝั่ง ลำตัวทอดยาวไปรับกับตัวพระอุโบสถและพระวิหาร คล้ายเอาหลังหนุนไว้ คนโบราณจะกล่าวว่า นาคสะดุ้ง แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตามความเชื่อที่ว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้เสด็จผ่านบันไดแก้วที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาค 2 ตัวหนุนหลังเอาไว้"โดยส่วนกลางของบันไดนาคจะมีช่องทรงโค้งทั้ง 2 ด้าน ผู้เฒ่าผู้แก่จะบอกกันว่า หากคู่รักได้ลอดวนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ จะสมหวังดังตั้งใจ และยังเชื่ออีกว่าหากคนต่างถิ่นมาลอดจะได้กลับไปเยือนเมืองน่านอีกครั้ง ฮูบแต้ม เลื่องลือชื่อ กระซิบรักเมืองน่าน เมื่อเดินเข้าไปยังด้านในของพระอุโบสถ จะปรากฏภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังลายเส้นสวยงามทั้ง 4 ด้าน เป็นศิลปกรรมแบบไทลื้อ คนพื้นเมืองเรียกกันว่า ฮูบแต้ม ภาพวาดได้แสดงถึงเรื่องราวของพุทธชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ถูกวาดขึ้นช่วงการซ่อมแซมพระอุโบสถครั้งใหญ่ ในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และเป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ หรือราว ๆ ปี พ.ศ. 2410-2417 ภาพที่สะดุดตาและมีชื่อเสียง คือ ปู่ม่านย่าม่าน และ นางสีไว เป็นผลงานของ "หนานบัวผัน" จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ที่มีฝีมือการวาดภาพอันเป็นเอกลักษณ์ มีการใช้สีสันทันสมัย เช่น สีแดง ฟ้า ดำ และน้ำตาลเข้ม โดยภาพปู่ม่านย่าม่านมีลักษณะเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งคล้ายกำลังกระซิบสนทนา ได้ฉายาว่าภาพ "กระซิบรักบันลือโลก" เมื่อพินิจมองไปในภาพก็มีการสันนิษฐานกันว่า ชายหญิงในภาพนั้นเป็นชายหนุ่มชาวเมียนมาและหญิงสาวชาวไทลื้อ ด้วยการแต่งกาย การเกล้ามวยผม รวมไปถึงชื่อภาพ ปู่ม่านย่าม่าน ที่คำว่า ม่าน หมายถึง เมียนมา คำว่า ปู่ หมายถึง ผู้ชายพ้นวัยเด็ก และคำว่า ย่า หมายถึง ผู้หญิงพ้นวัยเด็ก และทั้งคู่ก็น่าจะเป็นสามีภรรยากัน เพราะในสมัยก่อนนั้นหากเป็นหนุ่มสาวจะถูกเนื้อต้องตัวกันไม่ได้ ส่วนภาพนางสีไวก็งดงามไม่แพ้กัน ทั้งลายเส้นและสีสันก็อ่อนช้อย โดยนางสีไวเป็นตัวละครจากเรื่อง คัทธณะกุมารชาดก ภาพที่วาดขึ้นมีลักษณะเป็นภาพหญิงสาวเกล้ามวยผมเหนือศีรษะ ในมือกำลังปักดอกไม้งามลงบนมวยผมสีดำขลับ ใบหูใส่ม้วนทอง มีผ้าคล้องคอไพล่ชายไปด้านหลัง เปลือยอก นุ่งผ้าลายพื้นเมืองน่าน งดงามหาที่เปรียบมิได้ พระประธานจตุรพักตร์ ศิลปะสุโขทัยน่าศรัทธาใจกลางพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานจตุรพักตร์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวน่านต่างให้ความเคารพศรัทธา เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยสีทองงามอร่าม 4 องค์ ปางมารวิชัย ซึ่งพระกรรณ (หู) และพระนาสิก (จมูก) ของพระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะลาว ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกไปสู่ประตูทั้ง 4 ทิศ และหันเบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) เข้าหากันตรงกลางของพระอุโบสถ มีความเชื่อกันว่าหากจะขอพรควรเดินวนชมทั้ง 4 องค์ก่อน 1 รอบ หากรู้สึกว่าพระพุทธรูปองค์ไหนยิ้มหรือพระพักตร์เป็นมิตรไมตรีกับเรามากที่สุด ให้ขอพรกับองค์นั้น แล้วจะสมดังใจปรารถนา วัดสวยมรดกชาติ คู่ธนบัตรไทย บนธนบัตรไทยนอกจากจะมีภาพของพระมหากษัตริย์แต่ละสมัยแล้ว สิ่งที่ปรากฏอยู่ด้วยก็คือ ภาพของสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองไทย ซึ่งครั้งหนึ่งภาพของพระอุโบสถวัดภูมินทร์ ก็ได้ไปอยู่บนธนบัตรไทยราคา 1 บาท รุ่นที่ 1-3 ทางด้านซ้าย ส่วนทางด้านขวานั้นเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเครื่องแบบจักรี วัดภูมินทร์ มีคุณค่าต่อศิลปวัฒนธรรมของไทยล้านนามากทีเดียว การจะหาชมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมเก่าแก่ที่ยังสมบูรณ์และสวยงามแบบนี้นั้นหาได้ยากยิ่ง เมื่อมีโอกาสไปเยือนเมืองน่านเมื่อใด ตามรอยประวัติศาสตร์ไปเที่ยววัดภูมินทร์สักครั้ง แล้วจะพบว่าคุ้มค่าเหลือเกินที่ได้ไปชมด้วยสายตาตัวเอง
23 กรกฎาคม 2567
556
แชร์
ตึกรังษีเกษม
ตึกรังษีเกษมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458(ค.ศ.1915) โดยคณะมิชชันนารี นำโดย ดร. นพ.ซามูเอล ซี พีเพิลส์, ดร.ฮิวส์ เทเลอร์, ศาสนาจารย์ แมเรียน บี ปาล์เมอร์ และ นางสาว ลูซี่ สตาร์ลิง สร้างแล้วเสร็จในปี 2459 ตึกหลังนี้ดัดแปลงแบบมาจากอาคารเรียนตึกลินกัล์น(น่านลินกัล์นอะแคเดมี)ซึ่งเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกของจังหวัดน่าน ส่วนตึกรังษีเกษมเป็นโรงเรียนหญิงแห่งแรกของจังหวัดน่าน ทั้งสองถือเป็นตึกแบบตะวันตกยุคแรกๆของน่านเดิมโรงเรียนหญิงแห่งนี้มีชื่อว่า “เมริเอสมิทบราวส์” ต่อมาในปี 2451 จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช(พระโอรสองค์ที่ 4 ในรัชกาลที่ 4 พระอนุชาของรัชกาลที่ 5) ได้พระราชทานนามของโรงเรียนให้ใหม่ว่า “โรงเรียนรังษีเกษม” เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมกิจการของศูนย์มิชชั่นน่าน โรงเรียนรังษีเกษมแรกเริ่มมีเพียงอาคารใหญ่หลังกลางเท่านั้น ต่อมาได้มีการสร้างอาคารฝั่งซ้ายขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องพักมิชชันนารีและหอพักนักเรียน(2451-2452) และสร้างส่วนฝั่งขวาขึ้นใช้เป็นห้องเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้พอเพียงต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นตึกรังษีเกษมเป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลที่มีการปรับแบบบางส่วนให้เข้ากับสภาพอากาศเมืองร้อนของไทย เป็นอาคารรูปตัวยู 2 ชั้น พื้นเพดานสร้างด้วยไม้ หลังคาเดิมเป็นกระเบื้องดินขอ แต่ได้เคยถูกพายุใหญ่พัดกระเบื้องดินขอพังเสียหาย ต่อมาในปี 2526 ได้มีการปรับเปลี่ยนหลังคาให้เป็นสังกะสีมาจนถึงปัจจุบัน ตึกรังษีเกษมได้ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวเคียงคู่เมืองน่านมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี ผ่านการบูรณะซ่อมแซม และปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งทางโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาได้มีการนำตึกหลังนี้มาปรับปรุงเป็นหอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา ในปี 2554หอประวัติศาสตร์โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาหรือตึกรังษีเกษม เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน ผ่านพยานวัตถุที่จัดแสดงอันหลากหลาย อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้โบราณเก่าแก่ของคนน่าน วัตถุเครื่องใช้ของมิชชันนารี วัตถุเครื่องใช้ของโรงเรียนรังษีเกษม โรงเรียนน่านลินกัล์นอะแคเดมี และโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา อีกทั้งยังมีผลงานภาพถ่ายในอดีตของเมืองน่านมากว่า 1,000 ภาพ ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงงานในจังหวัดน่าน พระราชกรณียกิจของเจ้าผู้ครองนครน่าน พันธกิจของมิชชันนารีที่มีต่อคนเมืองน่าน ภาพของอาคาร สถานที่ เหตุการณ์สำคัญ ตลอดจนภาพวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในอดีต Cr:ไปเที่ยวด้วยกัน
23 กรกฎาคม 2567
492
แชร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา รายล้อมด้วยถนนที่สำคัญได้แก่ ถนนผากองด้านทิศตะวันออก ถนนสุริยพงษ์ด้านทิศใต้ และถนนมหาพรหมด้านทิศเหนือ อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นหอคำที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าน่านทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อพุทธศักราช 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบศิลปะตะวันตกและศิลปะไทย โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขออกด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงไม้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินทั้งหมดให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ปีพุทธศักราช 2475 ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารหอคำ เพื่อให้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2517 และประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปีพุทธศักราช 2528 อย่างเป็นทางการ ภายหลังการจัดแสดงเสร็จสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พุทธศักราช 2530 ภายในแบ่งส่วนการจัดแสดงเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นบน จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.ห้องโถงใหญ่ เคยเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการของเจ้าผู้ครองนคร จัดแสดงข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์ของจังหวัดน่าน การสร้างบ้านแปงเมือง หลักฐานศิลาจารึก ลำดับเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนคร เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ภาพถ่ายโบราณ เงินตราและอาวุธ 2.ห้องปีกอาคารและเฉลียง จัดแสดงเรื่องราวด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดน่าน แหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุจากการขุดค้นในพื้นที่เก็บกักน้ำบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาในจังหวัดน่าน ศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนาที่ก่อให้เกิดแนวคิดงานศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่าน 3.ห้องจัดแสดงงาช้างดำ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่านมาแต่โบราณ ชั้นล่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ห้องโถง จัดแสดงเรื่องราวด้านชาติพันธุ์วิทยา เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของภาคเหนือ มีการจำลองลักษณะบ้านเรือน ร้านน้ำ ห้องนอน ครัวไฟ เครื่องใช้ชีวิตประจำวัน การทอผ้าและตัวอย่างผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องประเพณีความเชื่อ การแข่งเรือยาว และงานสงกรานต์ เป็นต้น 2.เฉลียงด้านหลังและปีกอาคาร จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าชนต่างๆ ในจังหวัดน่าน อาทิ ไทลื้อ แม้ว เย้า ชนเผ่าตองเหลือง สุดท้ายเป็นห้องที่ระลึกและห้องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติชาวจังหวัดน่าน
23 กรกฎาคม 2567
474
แชร์
โฮงเจ้าฟองคำ
คำว่า “ โฮง ” เป็นคำพื้นเมืองล้านนา หมายถึง คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไท โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านไม้สักยกใต้ถุนสูง รูปแบบล้านนาโบราณ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินขอ ประกอบด้วยเรือน 4 หลัง แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยนอกชานและทางเดิน บันไดทางขึ้นบ้านอยู่ด้านหน้ามีหลังคาคลุม สำหรับไม้สักที่ใช้สร้างบ้านนั้น ใช้วิธีการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด การประกอบตัวบ้านจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้โดยใช้สลักไม้ บริเวณหน้าบ้านมีบ่อน้ำ โดยรอบบ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิด โฮงเจ้าฟองคำ ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งแต่เดิม คือ คุ้มของเจ้าศรีตุมมา (หลานเจ้ามหาวงศ์เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6) และอยู่ติดกับคุ้มแก้วซึ่งเป็นที่พำนักของเจ้าผู้ครองนครน่านในเวียงเหนือ เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ (เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 12) ย้ายกลับมายังเมืองน่านปัจจุบัน คุ้มแก้วจึงถูกทิ้งร้างไป หลังจากนั้น เจ้าบุญยืน (ธิดาคนสุดท้ายของเจ้าศรีตุมมากับเจ้ามะโน (หลานของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ) ได้ย้ายตัวโฮงลงมาสร้างในพื้นที่คุ้มของเจ้าศรีตุมมา หลังจากนั้นบ้านหลังนี้ได้ตกทอดมายังเจ้าฟองคำ (ธิดาของเจ้าบุญยืนกับเจ้าอินต๊ะ) นางวิสิฐศรี (ธิดาคนสุดท้องของเจ้าฟองคำ) และนายมณฑล คงกระจ่าง ตามลำดับ ตัวโฮงนี้ เมื่อย้ายมาจากคุ้มแก้วหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด (หรือไม้เกล็ด) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้มีการรื้อและสร้างขึ้นใหม่ โดยใช้กระเบื้องดินขอแทนแป้นเกล็ด และใช้วัสดุเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่เดิมนั้น ไม้ที่ถูกนำมาเป็นวัสดุสร้างตัวบ้านนั้นเป็นไม้สักที่ทำการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีเลื่อยขนาดใหญ่ ดังนั้น การประกอบตัวเรือนจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้ โดยใช้สลักไม้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นร่องรอยที่มีเหลืออยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้านพื้นที่ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจัดแสดงวิถีชีวิตในอดีตและของโบราณที่มีคุณค่า เช่น เครื่องเงิน และผ้าทอ เป็นต้น โฮงเจ้าฟองคำเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์บ้านไม้เก่าด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้สอยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีชีวิตซึ่งมีส่วนช่วยรักษามรดกวัฒนธรรมของชาวน่านโดยเฉพาะการทอผ้าพื้นเมืองไว้ได้อย่างน่าชื่นชม จนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทบ้านพักอาศัย (คุ้มเจ้า) ประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิคสยาม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท Cr:ข้อมูล:thailandtourismdirectory
23 กรกฎาคม 2567
380
แชร์
วัดหัวข่วง
“วัดหัวข่วง” นอกจากเป็นวัดที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองน่านแล้วยังเป็นวัดที่มีความแปลกไม่เหมือนวัดอื่นใดในไทยอีกด้วย แล้วสิ่งที่แปลกของวัดนี้ก็คือพระประธานเบี่ยงซ้ายนั่นเอง ถ้าหากเราเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วลองมองไปตรง ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่าพระประธานไม่ตรงกับประตูโบสถ์ ส่วนสาเหตุทำไมพระประธานต้องเบี่ยงซ้าย มันมีเรื่องเล่าอยู่ว่า “เมื่อสมัยก่อนชาวบ้านคุ้มวัดหัวข่วงกับชาวบ้านคุ้มวัดภูมินทร์ทะเลาะกัน ไม่สามารถปรองดองกันได้ จนในที่สุดผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 คุ้ม ได้เห็นว่าพระประธานของวัดหัวข่วงและวัดภูมินทร์นั้นหันหน้าเผชิญกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุข วัดหัวข่วงจึงยอมขยับพระประธานให้เบี่ยงมาทางด้านซ้าย หลังจากนั้นชาวบ้านทั้ง 2 คุ้มก็เป็นมิตรกันและสงบสุขเรื่อยมา” (คำว่าคุ้ม แปลว่าหมู่บ้านในสมัยก่อน) เรื่องราวนี้ถูกเล่าต่อกันมามากกว่า 500 กว่าปีแล้ว จนถึงปัจจุบันพระประธานไม่ได้ถูกขยับไปไหนอีกเลย ชาวบ้านแถบนี้จึงถือว่าเป็นพระประธานแห่งสันติภาพและมีความเชื่อว่า “ หากใครที่มาไหว้ก็จะพบกับความสันติสุข ใครที่ทะเลาะกัน คู่รักที่บาดหมางกัน มาไหว้พระที่นี่ก็อาจจะคืนดีกันได้ หอธรรมวัดหัวข่วงหรือหอไตร เป็นอาคารที่มีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขใต้ถุนก่อทึบทรงสี่เหลี่ยมยอดเป็นรูปเต้าสลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก ใช้เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์โบราณและพระไตรปิฏก เจดีย์วัดหัวข่วง ลักษณะของเจดีย์เป็นทรงเรือนธาตุแบบศิลปะล้านนา หรือคล้ายกับเจดีย์วัดโลกโมลีในจังหวัดเชียงใหม่ แต่มีการดัดแปลงของช่างฝีมือของชาวน่าน จากลักษณะสถาปัตยกรรมพออนุมานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในประมาณปี พ.ศ. 2,200 วิหารวัดหัวข่วง เป็นอาคารทรงจั่วมีหน้าบันประดับลวดลายไม้จำหลักรูปพรรณพฤกษา ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นคล้ายกับใบผักกาด มีการเรียนแบบแบบศิลปะตะวันตก แสดงให้เห็นถึงว่าอดีตนครน่านก็มีการติดกับกลุ่มชาวตะวันตก(ฝรั่งเศษสมัยล่าอณานิคม) ทำให้วิหารที่นี่ค่อนข้างแตกต่างกับที่อื่น ๆ นอกจากนี้ภายในวิหารยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม พระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบล้านนา และยังเป็นพระประธานเบี่ยงซ้ายแห่งเดียวในไทย Cr:ข้อมูล: thesunsigh
23 กรกฎาคม 2567
357
แชร์
วัดศรีพันต้น
วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้วตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478 อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี วัดศรีพันต้นสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960–1969) จึงตั้งชื่อวัดตามนามผู้สร้างวัด บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น เพราะมีต้นโพธิ์ใหญ่ (สลี) อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด ปัจจุบันถูกโค่นเพื่อตัดเป็นถนนแล้ว[1] ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2478 อาคารเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ วิหารสีทอง ชื่อว่า วิหารกาญจนาภิเษก สร้างเพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีจิตรกรรมปูนปั้นเช่นพญานาคเจ็ดเศียร เฝ้าบันไดหน้าวิหารวัด ปั้นโดยช่างชาวน่านชื่อ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ หรือ "สล่ารง" นอกวิหารมีพุทธประติมากรรม คือ เรือพญาฆึ สร้างขึ้นในเมื่อ พ.ศ. 2545 เรือเกียรติสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ผู้สร้างคือสล่ารงค์เช่นกัน[3] เรือพญาฆึเป็นเรือลำใหญ่ที่สุดของเมืองน่าน จุได้ 78 ฝีพาย ปัจจุบันใช้เพื่อเป็นเรือโชว์เปิดสนามประเพณีแข่งเรือเมืองน่านและเรืออัญเชิญถ้วยพระราชทานในนัดปิดสนามของทุกปี
23 กรกฎาคม 2567
271
แชร์
Copyright 2024
nancity.go.th
All rights reserved
Powered by
CityVariety Corporation.